คอนเสิร์ตกลางแจ้ง VS ในร่ม
โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ
ในอดีต(จนถึงปัจจุบัน) การแสดงดนตรีขนาดใหญ่ แทบทั้งหมดจะแสดง(เล่น)กันในห้องคอนเสริทฮอลล์ ใหญ่เล็กก็ว่าไปตามขนาดของวงและดนตรีที่เล่น บางห้องแสดงเป็นพันๆคน
ในอดีต การแสดงในห้องปิดแบบนี้เป็นความจำเป็น เนื่องจากยังไม่มีระบบอีเล็คโทรนิคส์มาช่วยขยายเสียง ต้องอาศัยการก้องของห้องมาช่วยดักและรวบรวมเสียง ต้องใช้วงขนาดใหญ่ ดนตรีขนิดเดียวกันมากกว่าหนึ่งชิ้น บางครั้งเกือบ 10 ชิ้น นักร้องสมัยก่อนต้องตะเบ็งเสียงได้อย่างไม่อั้น(ต่างจากนักร้องปัจจุบันที่มักผอมบาง ,ปอดเล็ก ร้องแบบไม่มีน้ำหนักเสียงไม่อิ่ม เสียงลงท้องไม่มี ต้องอาศัยภาคขยายเสียงมาช่วย ถ้าไม่มีก็ถูกดนตรีกลบสนิท)
เพราะต้องอาศัยการก้องของห้องมาช่วยอย่างมาก จึงเป็นการยากอย่างยิ่งยวดในการออกแบบและก่อสร้างห้องแสดงดนตรีสักห้อง แต่ละห้องระดับมาสเตอร์พีซ เชื่อไหมว่า บางห้องต้องแก้แล้วแก้อีก ลงทุนก็มหาศาล แถมต้องมีการ “เบิร์นอิน” ห้องด้วย (คือต้องใช้ไปสักพักจนเข้าที่)
ด้วยเหตุนี้ ในโลกนี้จึงมีห้องแสดงดนตรีดีๆระดับโลกอยู่ไม่น่าถึง 15 ห้อง ที่มีการใช้กันอย่างออกหน้าออกตา
เรื่องที่จะอาศัยเทคโนโลยี่สมัยใหม่ อย่างระบบจำลองภาพและเสียงด้วยคอมพิวเตอร์ มันก็ดูดี มีหลักการดี แต่ผลที่ได้ออกมาจริงๆกลับไม่ได้ดั่งใจ บางห้องก็ทำเอาวิศวกรด้านเสียง และคอมพ์หน้าแตกแบบหมอไม่รับเย็บมาแล้ว บางห้องถึงขนาดทำฝาห้อง,เพดาน ให้ขยับปรับมุมเอียงได้ แต่ทั้งหมดก็คืองบมหาศาล กับการเสียเวลาอีกนานเป็นปีๆ
ด้วยปัญหาเหล่านี้ ทำให้เริ่มมีผู้นำเสนอการแสดงดนตรีแบบกลางแจ้งในที่โล่ง หรืออย่างน้อยก็มีหลังคา ,มีเวทียกพื้น แล้วใช้ระบบขยายเสียงอีเล็คโทรนิคส์ขนาดใหญ่(PA) มาช่วยเพิ่มความดังอีกที
ต่อไปนี้คือ ข้อเปรียบเทียบระหว่างการแสดงคอนเสริทกลางแจ้งกับแบบในร่ม ข้อดีของอย่างหนึ่ง ก็คือข้อเสียของอีกอย่างหนึ่ง
แบบกลางแจ้งมีข้อดีคือ
1. ออกแบบ ,ติดตั้ง ง่ายและประหยัดกว่ามากๆ ไม่ต้องรอเบิร์นอินใดๆ
2. เพิ่มความจุของคนดู(ฟัง) ได้แทบไม่อั้น(ปัจจุบันมีการถ่ายทอดสดของผู้ร้อง ,ผู้เล่น ออกจอทีวียักษ์ด้วย
3. จากการที่ค่าเช่าห้องไม่ต้องเสีย เสียแต่ค่าใช้สถานที่ซึ่งประหยัดกว่ามาก อีกทั้งจุคนได้มหาศาล ทำให้
ราคาตั๋วดูต่ำกว่ามาก แต่กลับสามารถหารายได้โดยรวมได้มากกว่า จากจำนวนคนดูที่มากกว่ามาก
4. ไม่ต้องเข้าคิวแย่งกันจองห้องแสดง บางครั้งต้องรอเป็นปีๆกว่าจะมีคิวห้องว่าง
5. ตัดปัญหาด้านอคูสติกของห้องออกได้หมด ความกังวานของเสียงที่เดิมใช้จากสรีระของห้องก็แทนด้วย
ระบบอีเล็คโทรนิดส์ อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นการแสดงกลางแจ้ง แต่ก็ต้องเลือกทำเลดีๆที่มีการก้อง
สะท้อนจากสิ่งก่อสร้างหรือภูเขาใกล้เคียงน้อยที่สุด
6. สามารถเสริมการแสดงด้วยเอฟเฟค(Effect) ต่างๆได้ เช่นการจุดไฟพุ่งขึ้นมา การยิงพลุ การโปรย
อะไรบางอย่าง การเพิ่มระบบกายกรรมเสริม การทำคนเหาะ/ลอย ฯลฯ บางอย่างอันตรายมากถ้าทำใน
ห้องแสดง หรือไม่ก็ขยับหรือซ่อนลำบาก
7. การติดตั้ง ,ตระเตรียม ,ซ้อม ล่วงหน้า ทำได้คล่องตัวกว่า อีกทั้งการรื้อถอนก็ทำได้ถนัด ,คล่องตัวกว่า
อิสระมากกว่า ประหยัดกว่าที่จะต้องเช่าห้องแสดงล่วงหน้าก่อนการแสดงและวันขนย้ายของ
8. ถ้าเกิดอุบัติเหตุอันไม่คาดฝันก็สามารถอพยพย้ายคนออกได้รวดเร็วกว่ามาก เกิดมีการตีกันผู้ดูก็หลบ
ออกได้ฉับไวกว่า
ข้อเสียของระบบกลางแจ้ง
1. ต้องขออนุญาตจากเจ้าของสถานที่ บางครั้งวุ่นวายมาก อีกทั้งผู้คนภายนอกด้วย
2. ต้องหาทำเลที่ดีและลงตัว ซึ่งก็อาจไม่ง่ายนัก
3. ต้องลงทุนทำฉากขนาดยักษ์ ,อาจต้องดัดแปลงบริเวณสถานที่ ต้องมีฝ่ายก่อสร้าง ,โครงสร้าง ,ติดตั้ง
ตรึงตา โดยเฉพาะ ทำให้การโยกย้ายต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง
4. ต้องหาวิธีที่รัดกุมและประนีประนอมในการคุมฝูงชนที่เข้ามาดู และฝูงชนที่รอบนอก ที่จะไม่รบกวน
พวกเขามาก
5. ต้องคิดให้ดีเรื่องการควบคุมเสียง ,แสง ,เอฟเฟค
6. ต้องหาระบบจ่ายไฟมาเอง
7. ต้องใช้เครื่องเสียงพลังสูงมากๆ
8. เรื่องดินฟ้าอากาศต้องประเมินให้ดีที่สุด พลาดก็เจ๊งได้เลย
สรุป จะเห็นว่า ทั้งแบบกลางแจ้งและแบบในร่ม ต่างก็มีข้อดีข้อเสียอยู่ในตัวเอง ต้องจัดสมดุลให้ดีระหว่าง ความสะดวก ,ระยะเวลา ,ค่าใช้จ่ายจริง(รวมที่แอบแฝงหรือจะบานปลาย) ,ความปลอดภัย เพราะแต่ละการแสดงไม่ใช่ลงทุนกันบาทสองบาท แต่เป็นสิบๆล้านบาทหรืออาจถึง 100 ทีเดียว
www.maitreeav.com